ประวัติวัดนาคาเทวี
รูพญานาค เมื่อสมัยปี พ.ศ. ๒๔๕๔ หลวงปู่หน่อย ญาณยุตโต (สกุลเดิม ละชินลา) ซึ่งเป็นชาวบ้านตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ได้อุปสมบทจำพรรษาอยู่ที่วัดบัวจูม (บ้านขาวในปัจจุบัน) ได้ธุดงค์มาพร้อมกับชาวบ้าน ๕ ครอบครัว ประกอบด้วย ๑. นายอ่ำ กัลป์ยาบุตร ๒. นายไทโท่ ๓. นายใหญ่ ละชินลา ๔. นายคำมี หนูราช และ ๕. นายรอด วะจีประศรี หลวงปู่หน่อยได้ปักกรดจำพรรษา ณ ภูน้อยแห่งนี้ และได้ทำการเสี่ยงไม้วา (เป็นประเพณีดั้งเดิมของการเสี่ยงทาย) เมื่อทำการเสี่ยงทายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลวงปู่หน่อยได้เอ่ยวาจาขึ้นว่า “ คั้นเฮ็ดดีสิเป็นบ้านเป็นเมือง คั้นเฮ็ดบ่ดีสิได้หอบผ้าแลนข้ามทุ่ง ” เมื่อได้ขออนุญาตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลวงปู่หน่อยก็ได้เดินสำรวจบริเวณวัดขณะที่ปฏิบัติธรรม ปรากฏว่าสถานที่แห่งนี้คงจะเป็นวัดร้างที่มีผู้คนอาศัยมาก่อน เพราะได้พบเห็นฐานพร้อมพระพุทธรูปแต่ไม่มีเศียร และบริเวณใกล้กันได้พบเห็นสิ่งมหัศจรรย์ ลักษณะเป็นรูเล็กๆ อยู่ด้านหลังอุโบสถเก่า (ความกว้าง ๑๕ นิ้ว) ความลึกไม่ปรากฏชัดเจน เมื่อถึงวันพระวันโกนชาวบ้านจะเห็นควันพวยพุ่งออกมาจากรู และเล่าขานสืบกันมาว่า ถ้าวันใดมีควันลอยพวยพุ่งออกมา ในไม่ช้าฝนจะตกลงมาทุกครั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก บริเวณวัดแต่ก่อนจะมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาจากการสอบถามผู้สูงอายุในหมู่บ้าน บริเวณหน้าวัดนาคาเทวีจะมีต้นยางคู่ มีบ่อน้ำ และบริเวณด้านทิศเหนือจะมีแอ่งน้ำที่เรียกว่า บวกเงือก ซึ่งน้ำจะไม่แห้งตลอดปี (ปัจจุบันถมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว) ถ้าวันใดฝนตกจะมีงูใหญ่มาเล่นน้ำเป็นประจำ ในช่วงวันพระวันโกน และวันเข้าพรรษาจะได้ยินเสียงฆ้องดังกระหึ่ม มีดวงแก้วลอยออกมา มีควันพวยพุ่งออกมาจากรู และได้ยินเสียงดังกึกก้องเป็นประจำ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ตามที่หลวงปู่หน่อยได้นิมิตว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่อาศัยของพญานาคตัวเมียที่คอยปกปักรักษาคุ้มครองผู้ที่ประพฤติปฏิบัติชอบ และเชื่อกันว่าเสียงร้องที่ดังออกจากรูเป็นเสียงร้องของ “ พญานาคตัวเมีย ” หลวงปู่หน่อยจึงได้ตั้งวัดขึ้น ณ แห่งนี้ โดยตั้งชื่อว่า “ วัดนาคาทวี ” และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “ บ้านนาคา ” ต่อมาชื่อหมู่บ้านเรียกผิดเพี้ยนไปเป็น “ บ้านนาข่า ” แต่วัดยังเป็นชื่อวัดนาคาเทวีเช่นเดิม พระอุโบสถ พระธาตุเจดีย์ 3 องค์ ในปี พ.ศ.๒๔๙๙ เมื่อหลวงปู่หน่อยได้มรณภาพ ในช่วงสี่ถึงห้าปีหลังที่หลวงปู่หน่อยได้มรณภาพลง ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านก็ได้ร่วมกันคิดที่จะสร้างพระธาตุเจดีย์เพื่อจะบรรจุอัฐิธาตุของหลวงปู่หน่อยขึ้นมาอีก ซึ่งการก่อสร้างครั้งนี้จะเป็นการก่อสร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งสถานที่ก่อสร้างดังกล่าวจะต้องอยู่ใกล้บริเวณพระธาตุองค์เดิมที่มีแต่เก่าก่อน จากนั้นในปี พ.ศ.๒๕๕๒ ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านได้ร่วมกันที่จะสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นมาอีกหนึ่งองค์ เพื่อบรรจุอัฐิธาตุของหลวงปู่ไสย์ เจ้าอาวาสวัดนาคาเทวีในสมัยนั้น ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่หน่อย ผู้ทรงมีความรู้ ความสามารถในด้านวิทยาอาคมมากมาย ก่อนที่จะมีการสร้างพระธาตุเจดีย์นี้ขึ้น ชาวบ้านได้ทำพิธีขอขมาภูมิเจ้าที่ก่อน ในการทำพิธีได้มีร่างทรงเป็นผู้ทำพิธีดังกล่าว จากการทำพิธี ผลปรากฏว่าภูมิเจ้าที่ได้บอกว่า การที่ก่อสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นมาอีกนั้น จะต้องทำการก่อสร้างให้ติดกับเจดีย์อัฐิธาตุของหลวงปู่หน่อยซึ่งสร้างขึ้นไว้อยู่ก่อนแล้ว การสร้างนั้นให้สร้างเป็นเจดีย์คู่ เหมือนเจดีย์คู่พี่คู่น้อง แต่ต้องมีข้อแม้ว่าการก่อสร้างเจดีย์ที่บรรจุอัฐิธาตุหลวงปู่ไสย์จะต้องสร้างให้มีขนาดเล็กลงมาอีก ห้ามสร้างให้เท่ากับพระธาตุเจดีย์ของหลวงปู่หน่อย โดยให้ลดขนาดของเจดีย์ลงทุกด้านทุกส่วน จำนวน ๔๔ เซนติเมตร เหตุผลก็เพื่อไม่ให้เป็นการเทียบรัศมีครูบาอาจารย์ ลูกศิษย์จะต้องมีฐานะต่ำกว่าอาจารย์ห้ามอยู่เหนือกว่าเด็ดขาด ด้วยเหตุนี้เองพระธาตุเจดีย์สามองค์ ที่ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ จึงมีขนาดไม่เท่ากัน การก่อสร้างบูรณะก็ไม่ได้สร้างพร้อมๆกัน และแต่ละพระธาตุก็จะมีอัฐิธาตุของพระเถระที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ที่เป็นตำนานเลื่องลือมาแต่โบราณกาลของบ้านนาข่า ยกเว้นพระธาตุเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่กว่าพระธาตุเจดีย์องค์อื่นๆ จะไม่มีอัฐิธาตุที่บรรจุอยู่ในพระธาตุเจดีย์ เพราะเจดีย์ดังกล่าวเป็นเจดีย์ที่มีมาแต่เก่าก่อนที่ชาวบ้านร่วมกันบูรณะปฏิสังขรณ์ครอบองค์เดิมขึ้นมา เอาหินมาปิดรูพญานาค ขุดพบพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง เป็นที่ปลาบปลื้มของพสกนิกรชาวบ้านนาข่า พระพุทธรูปปางพระมหาภิเนษกรมณ์ วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๕ ทำพิธีพุทธาภิเษกและเบิกเนตรพระพุทธศรีรัตนมหามงคลนาคาเทวี โดยมีหลวงปู่ขาว พุทธรักขิตโต วัดป่าคูณคำวิปัสสนา อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ซึ่งมีคุณยายถ่ำ พุทธาผา อายุ ๑๐๓ ปี พร้อมครอบครัวเป็นประธาน และมอบเงินสนับสนุนจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท มีรายนามผู้ร่วมบริจาคดังนี้ นายสุธน – นางทองม้วน หนูโดด ๑๐๐,๐๐๐ บาท คุณยายน้อย ช่วยค้ำชู นายสมจิต นางถัง เพ็งวงษ์ จำนวน ๑๐๐๐,๐๐๐ บาท พระพุทธชินราช ๑ องค์ จำนวน ๒๖๐,๐๐๐ บาท นายคูณ – นางทองก้อน พรหมวงศ์ ๑,๐๐๒,๕๕๕ บาท นางจันทร์ดี บุตรธนู ๑๐๐,๐๐๐ บาท นายธงชัย – นางแสวง พรหมวงศ์ เจ้าภาพไฟฟ้าทั้งหมด ๑๐๐,๐๐๐ บาท นายประสงค์ – นางสุข มุกขะกัง ๕๐,๐๐๐ บาท นายบุเพ็ง – นางน้อย ช่วยค้ำชู พระพุทธรูปนิลดำ ๑ องค์ ๑๓๐,๐๐๐ บาท จากการเริ่มสร้างพระพุทธรูปปางพระมหาภิเนษกรมณ์ และการได้รับประทานพระบรมสารีริกธาตุจากสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทำให้จิตใจของชาวบ้านนาข่า พี่น้องประชาชนนทั่วไปได้หลอมดวงใจเป็นหนึ่งเดียว โดยมีการบริจาควัสดุ สิ่งของ เงินทอง จากงบประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาท ปัจจุบันได้ก่อสร้างเป็นงบประมาณไปแล้วประมาณ ๑๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สิบสี่ล้านบาทถ้วน) ก็ด้วยเพราะบารมีของภูมิเจ้าที่ หลวงปู่หน่อย หลวงปู่ไสย์ และย่านาคา เมื่อผู้รับเหมาได้ดำเนินการส่วนแรกแล้วเสร็จ จึงได้มีการประชุมปรึกษาหารือในการวางศิลาฤกษ์พระพุทธรูปปางมหาภิเนษกรมณ์ โดยมีมติในที่ประชุมให้จัดงานในวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๙ โดยมีนายเริงฤทธิ์ พลนามอินทร์ ได้ติดต่อประสานงานกับนายปรีชา กันธิยะ อธิบดีกรมการศาสนาในขณะนั้นมาเป็นประธาน ทุกอย่างผ่านไปด้วยความราบรื่น โดยได้รับความร่วมมือจากพี่น้องชาวบ้านนาข่า จากหน่วยราชการต่างๆ ทั้งนี้ในการพบปะประชาชน ท่านอธิบดีได้มอบเงินสมทบทุนสร้างจำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท และขอประทานพระบรมสารีริกธาตุให้กับทางวัด เพื่อนำขึ้นประดิษฐานบนยอดพระเกศพระพุทธรูปปางพระมหาภิเนษกรมณ์ เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้รับแจ้งจากนายเริงฤทธิ์ พลนามอินทร์ วัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี ให้ไปรับประทานพระบรมสารีริกธาตุ จากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งนำความปลื้มปิติมาสู่พี่น้องชาวบ้านนาข่า ในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙ วัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานีและผู้ร่วมเดินทางจำนวน ๒๒ คน ได้ออกเดินทางไปที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ก่อนออกเดินทางได้มรฝนโปรยปรายลงมาตลอดทาง เมื่อเดินทางถึงโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ท่านอธิบดีและคุณนายได้รอรับอยู่แล้ว จากนั้นสำนักพระราชวังจึงได้นำทุกคนเข้าเฝ้าและรับประทานพระบรมสารีริกธาตุจากพระหัตถ์ เมื่อเดินทางกลับถึงบ้านนาข่า จึงได้จัดให้มีการฉลองถึง ๓๖ วัน โดยในวันแรกได้มีฝนตกลงมาอย่างหนักในขณะทำพิธี ซี่งฝนก็ตกอยู่แต่ในบริเวณหมู่บ้านนาข่าเท่านั้น ปัจจุบันการก่อสร้างได้ก่อสร้างเรื่อยมากจนได้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ และยังคงเหลือส่วนที่เป็นชั้นล่างที่เป็นพิพิธภัณฑ์เรียนรู้ชุมชน ซึ่งคงต้องใช้งบประมาณในส่วนนี้ประมาณ ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านห้าแสนบาทถ้วน) ก็จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ เพื่อให้ความฝันกลายเป็นจริงว่าจะมีพระพุทธรูปที่มีความสวยสด งดงาม ตระหง่านเป็นศักดิ์ศรีของชาวนาข่าตราบนานเท่านาน คงไม่นานเกินรอนับจากนี้ไป |